วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ดอกไม้ประเทศอาเซียน



1. ดอกไม้ประจำชาติไทย – ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) หรือ ดอกคูน
      

ดอกราชพฤกษ์ ดอกไม้ประจำชาติของไทย

          ดอกไม้ประจำชาติของไทยคือดอกราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน (ภาษาอีสาน) และ ดอกลมแล้ง (ภาษาเหนือ) โดยที่ดอกราชพฤกษ์นั้นมีลักษณะดอกเป็นช่อหรือเป็นพวง มีสีเหลืองสดใสสวยงาม ดอกราชพฤกษ์ของไทยบานเหลืองสะพรั่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมของทุกปี โดยเราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป ทั้งตามแนวถนนหลวง ตามสวนสาธารณะ ตามวัดวาอาราม อีกทั้งเราจะพบว่าคนไทยนิยมนำดอกราชพฤกษ์มาประดับพระเจดีย์ทรายที่นิยมก่อกันในช่วงวันสงกรานต์อีกด้วย

      

ดอกลำดวน ดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา

   ดอกไม้ประจำชาติของกัมพูชาคือดอกลำดวน โดยที่ดอกลำดวนเป็นดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล (เหลืองนวลอ่อนๆ) มีกลีบดอกหนาและค่อนข้างแข็ง มีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ โดยจะส่งกลิ่นแรงในช่วงเวลากลางคืน ชาวกัมพูชาถือว่าดอกลำดวนเป็นดอกไม้มงคล นิยมปลูกกันทั่วประเทศ เป็นดอกไม้ประจำชาติอาเซียนที่มีลักษณะแปลกตา แต่มีเอกลักษณ์และสวยงามมาก

3. ดอกไม้ประจำชาติลาว – ดอกจำปาลาว (Dok Champa) หรือ ดอกลีลาวดี
      

ดอกลีลาวดี หรือ ดอกจำปาลาว ดอกไม้ประจำชาติลาว

     ดอกไม้ประจำชาติอาเซียนอีกประเทศหนึ่งคือดอกลีลาวดีของประเทศลาว ดอกลีลาวดีมีชื่อในภาษาลาวว่าดอกจำปาลาว หรือที่คนไทยโบราณนิยมเรียกว่าดอกลั่นทม ซึ่งมาเปลี่ยนชื่อเป็นดอกลีลาวดีในภายหลัง (นัยว่าเพื่อความเป็นสิริมงคล) ดอกลีลาวดีนั้นเป็นดอกไม้ที่มีหลากหลายสีสัน ทั้งสีขาว สีส้ม สีแดง สีชมพู และสีเหลืองเป็นต้น คนลาวถือว่าดอกลีลาวดีซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติของตนนั้นเป็นตัวแทนของความสดชื่น ความจริงใจ และความสุข ดังนั้นคนลาวจึงนิยมใช้ดอกลีลาวดีในงานมงคลทุกชนิด ทั้งงานบวช งานแต่ง งานทำบุญต่างๆ รวมถึงทำเป็นพวงมาลัยถวายพระและต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองด้วย

4. ดอกไม้ประจำชาติพม่า – ดอกประดู่ (Padauk)
      

ดอกประดู่ ดอกไม้ประจำชาติพม่า

      ดอกไม้ประจำชาติพม่าคือดอกประดู่ ดอกประดู่เป็นดอกไม้สีเหลืองทอง สีสันสวยงาม พบได้มากทั้งในประเทศพม่าและประเทศไทยของเรา เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม โดยจะเริ่มออกดอกพร้อมกับฤดูฝน ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีสำหรับประเทศเกษตรกรรม คนพม่านิยมใช้ดอกประดู่สำหรับงานเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลปีใหม่ของตน รวมถึงงานมงคลต่างๆ นิยมใช้เป็นดอกไม้บูชาพระและงานสำคัญทางศาสนาด้วย

5. ดอกไม้ประจำชาติเวียดนาม – ดอกบัว (Lotus)
      

ดอกบัว ดอกไม้ประจำชาติเวียดนาม

      ดอกไม้ประจำชาติเวียดนามคือดอกบัว คนเวียดนามมีความเชื่อว่าดอกบัวคือสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความรัก ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี รวมถึงความเชื่อที่ว่าดอกบัวเป็นตัวแทนแห่งรุ่งอรุณ เนื่องจากดอกบัวจะคลี่บานพร้อมกับแสงตะวัน ซึ่งหมายถึงการเริ่มต้นวันที่แจ่มใส เราจึงสามารถพบคำว่าดอกบัวอยู่ในบทเพลงพื้นบ้านและบทกลอนในภาษาเวียดนามอยู่เสมอ นับได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำชาติอาเซียนที่ไม่ได้เป็นดอกไม้ประจำถิ่น แต่เป็นดอกไม้ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในทุกประเทศอาเซียน

6. ดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ – ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim)
      

Vanda ‘Miss Joaquim’ ดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์

       ดอกไม้ประจำชาติของสิงค์โปร์คือดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim ) ซึ่งดอกกล้วยไม้แวนด้านี้จะมีสีม่วงแดงสดใส สามารถออกดอกบานสะพรั่งได้ตลอดทั้งปี โดยชื่อ Vanda Miss Joaquim มาจากชื่อของผู้ที่สามารถผสมพันธุ์กล้วยไม้สายพันธุ์แวนด้าชนิดนี้ได้สำเร็จ ซึ่งก็คือ Miss Joaquim นั่นเอง ดอก Vanda Miss Joaquim ถูกประกาศให้เป็นดอกไม้ประจำชาติเมื่อปี ค.ศ. 1981

7. ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย – ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) หรือ ดอกชบาแดง
      

ดอกพู่ระหง ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย

     ดอกไม้ประจำชาติอาเซียนที่มีความสวยงามมากอีกประเทศหนึ่ง ก็คือดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย ซึ่งคือดอกพู่ระหง หรือ ดอกบุหงารอยอในภาษามาเลย์ หรือดอกชบาแดงในภาษาไทย พู่ระหงเป็นดอกไม้ที่มีสีแดงสดใส มีกลีบดอก 5 กลีบ มีแกนเกสรอยู่ตรงกลาง เป็นไม้ดอกประเภทล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตรเท่านั้น ชาวมาเลย์เชื่อว่าดอกพู่ระหงเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความสามัคคีของคนในชาติ และยังรวมถึงความสูงส่งและความสง่างามอีกด้วย

8. ดอกไม้ประจำชาติบรูไน – ดอกส้านชะวา (Dillenia) หรือดอกซิมปอร์ (Simpor)
      

ดอกส้านชะวา ดอกไม้ประจำชาติบรูไน

     ดอกไม้ประชาติของบรูไนคือดอกซ้านชวาหรือดอกซิมปอร์ ซึ่งเป็นดอกไม้สีเหลืองสดใสสวยงาม มีดอกขนาดใหญ่คล้ายร่ม ในหนึ่งดอกจะประกอบไปด้วยกลีบดอกจำนวน 5 กลีบ ดอกซ้านชวาถือว่าเป็นดอกไม้ประจำถิ่นของบรูไน สามารถพบเห็นได้ทั่วไป รวมถึงในธนบัตรหรือเงินของบรูไนและงานศิลปะประเภทต่างๆอีกด้วย

9. ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย – ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid)
      

ดอกกล้วยไม้ราตรี ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย

     ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซียคือดอกกล้วยไม้ราตรี หรือ Moon Orchid ซึ่งเป็นกล้วยไม้สายพันธุ์พิเศษที่มีลักษณะสวยงามและออกดอกตลอดทั้งปี รวมถึงสามารถบานอยู่ได้หลายเดือน สามารถขึ้นได้ดีในสภาพอากาศที่ร้อนชื้นซึ่งเป็นลักษณะอากาศประจำถิ่นของอินโดนีเซีย นับได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำชาติอาเซียนที่มีงดงามไม่แพ้ใครเลยทีเดียว

10. ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ – ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine)
      


ดอกพุดแก้ว ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์

       ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์คือดอกพุดแก้ว ซึ่งเป็นดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ มีลักษณะของดอกเป็นแฉกจำนวน 5 กลีบคล้ายรูปดาว มีกลิ่นหอมสดชื่นโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ต้นพุดแก้วจะออกดอกได้ทั้งปี โดยชาวฟิลิปปินส์เชื่อว่าดอกพุดแก้วเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ ความเรียบง่าย ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความเข้มแข็ง จึงนิยมใช้ดอกพุดแก้วในงานรื่นเริงและงานเฉลิมฉลองทุกชนิด

เพื่อนของฉัน








        คำว่า เพื่อน …หมายถึง…มิตรภาพที่ยืนยง
คำว่า เพื่อน …จุดประสงค์…คือรักแท้
    คำว่า เพื่อน …คือกำลังใจ…ยามอ่อนแอ
      คำว่า เพื่อน …ไม่เคยแคร์…จะรวยหรือจน

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระอาทิตย์ตกดิน






ฉันไม่ค่อยชอบบรรยากาศตอนนี้ซักเท่าไหร่ (สวยแบบเศร้าๆ) หากได้นั่งอยู่คนเดียวทีไร อดให้นึกถึงเรื่องของวันวานไม่ได้ทุกที
เนี่ยแหละนะ สัจธรรมของมนุษย์ มีพบก้อมีจาก... มีเสียงหัวเราะก้อต้องมีหยดน้ำตา ... เหมือนงานเลี้ยงต้องมีวันเลิกรา ... ไม่มีความสุขใดที่จะอยู่กับเราทุกวัน และไม่มีความทุกข์ใดจะอยู่กับเราตลอด ... ทุกอย่างเป็นไปตามเงื่อนไขของเวลา ...
บางทีในอีกมุมหนึ่ง "พระอาทิตย์ตกดิน สื่อความหมายของการลาที" (ไม่ใช่ลาจาก) ลา เพื่อหยุดพัก ... พักใจอย่างนิ่งๆ อยู่กับตัวเอง(อย่างมีความสุข)ให้ได้ในแต่ละวันวัน แล้วทบทวนสิ่งที่ผ่านมา ถามตัวเองว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ ถ้าไม่ใช่ก้อหยุด หรือถอย อีกก้าว เพื่อก้าวต่อไปที่มั่นคงกว่า เหนื่อยก้อต้องพัก แล้วลุกยืนให้ไหว คิดมากทำไม กับความผิดพลาด
ตะวันยังขึ้นได้ใหม่ ชีวิตก้อเริ่มต้นใหม่ได้เช่นกัน จะกลัว อะไร แค่กล้าที่จะก้าวออกมา และให้กำลังใจตัวเองทุกวัน ว่า "วันนี้เราต้องดีกว่าเมื่อวาน"
เพราะสิ่งแย่ๆ ได้ลาไปแล้ว ไปพร้อมกับตะวันที่ลับของฟ้าของเมื่อวานนั่นเอง
พรุ่งนี้รีบตื่น เพื่อรับกับตะวันดวงใหม่(ที่เป็นเหมือนความหวังใหม่) อย่างสดใสกันดีกว่า
หากตะวันดวงนี้ อาจมีสิ่งดีๆ มาให้กับเรา เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า ดีกว่า และดีกว่า



(ขอบคุณดวงตะวัน) 

ของวันพรุ่ง ....นี้ ^-^



วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประวัติผู้จัดทำบล็อก

ผู้จัดทำบล็อก


หมู่ที่ 10 บ้านหนองหว้าเอน
ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา








หมู่ 11 บ้านรกฟ้า 
ตำบลด่านช้าง  อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา





หมู่ 11 บ้านรกฟ้า 
ตำบลด่านช้าง  อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา